เปรียบเทียบ น้ำยาเคลือบ ชุบ Spray ทา อย่าง Lacquer, E-Coat 2020
Nano Coating น้ำยาชุบสี หรือ ย้อมแต่งผิวโลหะ ต่างๆ
Coating คือ การเคลือบผิว หรือ ชั้นของผิว บนพื้นผิว(อีกอย่าง)
ซึ่งในงานโลหะ มีการใช้งานมาเป็นเวลานานมาก เริ่มตั้งแต่ การทารองพื้น การทำสี การชุบ ต่างๆ เป็นต้น
ปัจจุบันการเคลือบใสเป็นที่นิยมมากขึ้น เพื่อโชว์เนื้อโลหะ ที่มีการปัดเงามาเรียบร้อยสวยงามแล้ว โดยคงไว้ในจุดประสงค์การเคลือบผิวโลหะพื้นฐานที่ต้องการได้ -กันคราบหมอง คราบเปื้อน รอยนิ้วมือ -ให้วาวเงา หรือ ด้าน หรือแต่งให้มีสีสัน -โดยให้ยืดอายุการเป็นสนิมของโลหะ
โลหะ ต้องมีการเคลือบปิดผิว ไม่ว่าที่เราเห็นระหว่างขนส่งมี การปิดเคลือบฟิล์ม พีวีซี
วันนี้เราคุยกัน ถึงเคลือบใส บนผิวโลหะ ซึ่งจะเหมาะกับผิวโลหะที่ต้องการโชว์ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งอาคารภายใน ภายนอก เครื่องประดับ เครื่องใช้ซ้อย ขอเข้าเรื่องเลยครับ
การทำผิวเคลือบสามารถทำได้ทั้ง การใช้แปรง ทา หรือ การใช้ลูกกลิ่ง การใช้ฟองน้ำลูบ ผิวงาน รวมทั้ง การพ่น ในลักษณะเฉกเช่นเดียวกับ การ ทำสี และการทำเคลือบนี้ ตัดประเด็นของการทำชุบโลหะหนักอื่นๆ ซึ่งลดความจำเป็นของการทำบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้น และมีโลหะหนักปนเปื้อน
ประเด็นต่างๆที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการเคลือบ
1) ชนิดผิวเคลือบ: ความเงามันของผิวเคลือบ ความใส ความด้าน
2) อายุการใช้งาน: ผิวใสไม่เหลืองเมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่ง
3) ต้นทุนการเคลือบ: แพง ถูก
4) คุณสมบัติทั่วไป: การยึดแน่นของผิวเคลือบ ไม่หลุด ร่อน ไม่เป็นริ้วรอย ไม่เป็นรุ้ง
5) คุณลักษณะพิเศษ: ความสามารถในการกันสนิม กันคราบ
ข้อดี ข้อเสีย สรุปคร่าวๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ของวัสดุประเภทต่างๆ ในการเคลือบผิวโลหะ
1) การใช้ แลกเกอร์ทั่วไป(General Lacquer) มาเคลือบผิวโลหะ
โดยทั่วไป มักนำ แลกเกอร์ทั่วไปสำหรับงานไม้ มาใช้กับงานโลหะ เพราะราคาถูก แต่ข้อเสีย คือความทนทานต่ำ เพราะขาดเรื่องการยึดเกาะที่ดี และมักไม่สามารถกันสนิม กันคราบได้ และ เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่ง มี การเหลือง ขาดความโปร่งใส
เนื่องจากผิวโลหะ เนื้อแน่น ไม่เหมือนไม้ ที่ผิวมีความพรุน ดังนั้น การยึดเกาะโดยแลกเกอร์ทั่วไป ทำได้เพียงโปะปิดผิว ไม่สามารถประสานเป็นเนื้อเดียวกับโลหะ เพิ่มการยึดเกาะ และ การกันคราบ หมอง และ สนิมโลหะ ได้
2) การใช้แลกเกอร์ใสเคลือบเฉพาะโลหะ ( Specific Clear Coat Lacquer)
มีการพัฒนาน้ำยาเคลือบเฉพาะสำหรับโลหะ ที่สามารถที่เพิ่มการยึดเกาะบนผิวโลหะ โดยการทำปฏิกิริยากับผิวโลหะที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ทำให้ความสามารถการยึดเกาะฟิล์มเคลือบแน่นติดผิวโลหะ แทนที่จะเป็นการโปะเกาะบนผิวโลหะ ดังนั้น จึงเพิ่มคุณสมบัติกันสนิม กันคราบ ดีขึ้น เหมาะสำหรับการนำไป TOPCOAT เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์โลหะให้คงความสวยงามของผิวงานได้ โดยไม่เกิดคราบ หมอง คราบสนิม
กลุ่มผลิตภัณฑ์ Stayklean จาก Kleannshine มีการนำแลกเกอร์เคลือบเฉพาะสำหรับโลหะโดยตรงหลังทำความสะอาด ผิว ที่มีการยึดเกาะผิวโดยทำปฏิกิริยากับผิวโลหะที่สะอาดปราศจากคราบแล้ว และคงความใสสะอาดตลอดอายุการใช้งาน โดยไม่เหลือง ไม่หมอง มีทั้งสูตรน้ำ และ สูตรสารระเหย
3) มีการพัฒนาผิวเคลือบ เป็นแลกเกอร์ไฟฟ้า (Electro-Lacquer Coat) หรือที่เรียกสั้นๆว่า E-Coating คือ การใช้ไฟฟ้าในการเคลือบช่วยให้ผิวเคลือบมีความหนาคงเส้นคงวา และเข้าถึงจุดมุมอับ จุดซ่อนเร้นบนผิวโลหะที่อาจจะยากที่จะเข้าถึง โดยการพ่น การทา หรือ แม้กระทั่งการจุ่มในแลกเกอร์สองกลุ่มแรก
กลุ่มผลิตภัณฑ์ LACKOTE & LACKOTE PRO เหมาะสม สำหรับงานหลายๆด้าน ที่ต้องการทั้ง ประสิทธิภาพ และ ความสวยงาม เป็นต้นว่า
งานสถาปัตย์ตกแต่ง งานเครื่องประดับ งานอุตสาหกรรมยานยนต์ Kitchenware ฯลฯ
4) นวัตกรรมใหม่ น้ำยาเคลือบนาโน (Nano thin Clear coat)
ที่เลือกใช้น้ำยาเคลือบใส บางระดับนาโน มีราคาค่อนข้างแพง โดยทั่วไปลักษณะของการเคลือบ ระดับนาโน คือผิวเคลือบมีความหนาประมาณ 50 นาโนเมตร เป็นการเรียง อนูสารเพียง1 ชั้น จะเพียงพอสำหรับการป้องกันพื้นผิวที่ต้องการ โดยการสัมผัสพื้นผิวจะมีความรู้สึกเดิมของโลหะ เหมือนไม่มีอะไรเคลือบเลย
ราคา (น้อย> มาก) = แลคเกอร์ทั่วไป < แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า < น้ำยาเคลือบนาโน
ความคงทน(น้อย> มาก) = แลคเกอร์ทั่วไป < น้ำยาเคลือบนาโน < แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า
ความใส(น้อย> มาก) = แลคเกอร์ทั่วไป < แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า < น้ำยาเคลือบนาโน
อายุการใช้งาน(น้อย> มาก) = น้ำยาเคลือบนาโน < แลคเกอร์ทั่วไป< แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า
ความไม่เหลืองหลุดร่อน (น้อย > มาก) = แลคเกอร์ทั่วไป < แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า < น้ำยาเคลือบนาโน
การกันหมองกันสนิม (น้อย> มาก) = แลคเกอร์ทั่วไป < น้ำยาเคลือบนาโน< แลคเกอร์เฉพาะ < แลคเกอร์ไฟฟ้า
เมื่อตัดสินใจได้แล้วสามารถไปเลือก น้ำยาเคลือบต่างๆได้เลยที่นี้-Coatings